บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 7 - 11 พฤศจิกายน 2022

EUR/USD: ช้าลง นานขึ้น และสูงกว่า

  • โดยรวมแล้ว สัปดาห์ที่แล้วผ่านไปอย่างที่คาดการณ์ ไม่มีข่าวเซอร์ไพรส์สำคัญใด ๆ อีเวนต์หลักของสัปดาห์คือการประชุมของคณะกรรมการ FOMC (คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินสหรัฐฯ) ของธนาคารเฟดสหรัฐฯ เมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน ซึ่งมีเสียงเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดพื้นฐาน (bp) เป็น 4.00% นี่เป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามคาด และงานแถลงข่าวของผู้บริหารธนาคารเฟดก็เป็นที่สนใจของตลาดอย่างยิ่ง Jerome Powell ประธานธนาคารเฟดกล่าวในที่ประชุมว่า ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะต้องลดลง “อย่างมาก”  นโยบายทางการเงินจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็น สัญญาณก็คืออัตราการขึ้นดอกเบี้ยอาจชะลอตัวลงได้ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป แต่ระดับดอกเบี้ยสุดท้ายน่าจะสูงกว่าที่ประเมินไว้ในตอนต้น

    ตลาดได้รับข้อความนี้จากประธานธนาคารเฟดในหลายทางด้วยกัน บางคนตัดสินว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงรักษาโอกาสที่จะคุมเข้มนโยบายทางการเงินต่อไป บ้างเชื่อว่า จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยห้าครั้งติดต่อกันเป็นอีก 75 จุดในเดือนธันวาคม และในทางกลับกันนั้น บ้างก็มองว่าคำพูดของ Powell เป็นสัญญาณว่าขั้นพื้นฐานจะไม่ใช่ 75 จุด แต่เป็น 50 จุด ซึ่งหมายถึง การต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อจะเปลี่ยนแปลงทิศทางจาก “การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น” เป็น “การขึ้นดอกเบี้ยช้าลงแต่นานขึ้น” แต่ในกรณีนี้ นี่ก็เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงวิถีทาง และเป้าหมายหลักในทั้งสองกรณียังคงเหมือนเดิม

    นอกจากนี้ ตลาดตัดสินใจว่า คีย์เวิร์ดสำคัญที่นี่ไม่ใช่คำว่า “ช้าลง” และ “นานขึ้น” แต่เป็นคำว่า “สูงขึ้น” ด้วยเช่นกัน ก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคม ตลาดฟิวเจอร์สทำนายอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจะขยับถึง 4.85% ในเดือนมีนาคม 2023 ในขณะนี้ ระดับสูงสุดดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเดือนมิถุนายน โดยขึ้นเป็น 5.1% และตัวเลขคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยกลางในช่วงปลายปีหน้านั้นเพิ่มขึ้นจาก 4.46% เป็น 4.8%

    นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า การชะลอมาตรการถอนสภาพคล่องของธนาคารเฟด (QT) จะช่วยให้สกุลเงินต่าง ๆ สู้กับดอลลาร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะนี้ ธนาคารกลางของประเทศอื่น ๆ กำลังเร่งตามให้ทัน โดยไม่มีเวลาที่จะขึ้นดอกเบี้ยได้ในอัตราเดียวกันเหมือนกับสหรัฐฯ หากธนาคารเฟดชะลอมาตรการลง พวกเขาจะสามารถเติมเต็มช่องว่างหรืออย่างน้อยก็ตามทันได้บ้าง

    หลังการประชุมของคณะกรรกมาร FOMC ดัชนีดอลลาร์ DXY ขยับขึ้นถึง 113.00 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินประเทศ G10 ทั้งหมด ยกเว้นเงินเยนญี่ปุ่น จากนั้นก็มีการกลับตัว และก่อนการประกาศสถิติการว่างงานในสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน ดอลลาร์ปรับลดลงมาที่ 112.35 และ EUR/USD แข็งตัวอยู่ที่บริเวณ 0.9800

    สถิติตลาดแรงงานชี้ให้เห็นว่า บันทึกเงินเดือนนอกภาคการเกษตร หรือ NFP ของสหรัฐฯ อยู่ที่ 261K ในเดือนตุลาคม ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 200K แต่ยังต่ำกว่าตัวเลขเดือนกันยายนที่ 361K อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ปรับขึ้นมาจาก 3.5% เป็น 3.7% ในรอบหนึ่งเดือน ในขณะที่การคาดการณ์อยู่ที่ 3.6% ตลาดมองว่านี่เป็นสัญญาณเชิงลบต่อดอลลาร์ ทำให้ DXY ลดลงมาที่ 110.80 และ EUR/USD ขยับขึ้นและปิดท้ายสัปดาห์ที่ 0.9958

    นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ 90% เห็นด้วยว่า ราคาคู่นี้จะขยับลงไปยังทิศใต้ในอนาคตอันใกล้ และมีเพียง 10% ที่คาดการณ์ว่าราคาจะปรับฐานขึ้นไปด้านบน ในส่วนของออสซิลเลเตอร์ D1 ให้ผลลัพธ์ 40% เป็นสีเขียว มีจำนวนเดียวกันเป็นสีแดง และ 20% เป็นสีเทากลาง ในส่วนของอินดิเคเตอร์เทรนด์ ฝั่งที่ได้เปรียบเป็นสีเขียว โดยมี 65% แนะนำให้ซื้อคู่นี้ และ 35% แนะนำให้ขาย

    สำหรับแนวรับที่ใกล้ที่สุดของ EUR/USD คือช่วง 0.9865-0.9885 ตามมาด้วยระดับ 0.9825, 0.9765, 0.9700, 0.9645, 0.9580 และอันดับสุดท้ายเป็นราคาต่ำสุดของวันที่ 28 กันยายนที่ 0.9535 และเป้าหมายถัดไปของฝั่งกระทิงคือ 0.9500 ในส่วนของฝั่งหมี ภารกิจอันดับแรกจะเป็นการตัดผ่านระดับที่ 1.0000 จากนั้นจะเจอกับแนวต้านที่ระดับ 1.0100, 1.0250, 1.030 และ 1.0370

    ในบรรดากิจกรรมสำคัญในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ อันดับแรกที่สำคัญจะเป็นยอดค้าปลีกในยูโรโซน ซึ่งจะประกาศในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน, ตามมาด้วยดัชนีตลาดผู้บริโภค (CPI) และตลาดแรงงานในวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน และในส่วนของวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน เราจะได้ทราบดัชนี CPI เยอรมนี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ของมหาวิทยาลัย Michigan

GBP/USD: BoE กอบกู้เงินปอนด์ไม่สำเร็จ

  • หากการชะลอตัวในมาตรการ QT ในสหรัฐฯ ช่วยค่าเงินบางสกุลได้ ดูเหมือนเงินปอนด์จะไม่ใช่หนึ่งในนั้น ธนาคารกลางอังกฤษ (Boe) เช่นเดียวกันกับธนาคารเฟด สั่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน จาก 2.25% เป็น 3.0% ท่าทีนี้เป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 1980 แต่สิ่งนี้ก็ไม่ช่วยเงินปอนด์แต่อย่างใด เงินปอนด์ยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่อง และทำระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ไว้ที่บริเวณ 1.1144

    ดูเหมือนว่าหลังจากเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ การลดภาษีก็ถูกยกเลิกไป และมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แล้วนักลงทุนต้องการอะไรอีก? ในอันดับแรก พวกเขาต้อการความเชื่อมั่นว่า อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นต่อไป แต่ก็ไม่ปรากฏความแน่นอนดังกล่าว

    Andrew Bailey ประธานธนาคารกลางอังกฤษให้สัญญาณว่า การขึ้นดอกเบี้ยจะชะลอตัวได้ในอนาคต กล่าวคือ ดอลลาร์จะยังคงเป็นผู้นำในเกมนี้ แต่ Bailey ก็ชี้ว่า ไม่น่าจะเกิดวิกฤติเหมือนช่วงปี 1970s และภัยภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยืดเยื้อบีบให้ธนาคารกลางต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังเป็นอย่างมาก สิ่งสำคัญคือต้องไม่บีบรัดเศรษฐกิจเพื่อรีบเอาชนะภาวะเงินเฟ้อ และไม่สามารถคุมตลาดแรงงานได้ การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารอังกฤษชี้ว่า GDP อังกฤษจะลดลงประมาณ 0.75% ในช่วงครึ่งหลังของปี ในขณะเดียวกัน แนวโน้มดังกล่าวจะเกิดขึ้นไปจนถึงกลางปี 2024

    นักลงทุนก็ผิดหวังกับดัชนีราคาค้าปลีกที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยสมาคมผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกสหราชอาณาจักร (British Retail Consortium - BRC) โดยราคาเฉลี่ยในร้านค้าในเดือนตุลาคม ซึ่งมีตัวเลขคาดการณ์ที่ 5.5% ตัวเลขจริงเพิ่มขึ้น 6.6% โดยรวมแล้ว ราคาสินค้าประเภทอาหารปรับขึ้นมา 11.6% และ “ตะกร้าอาหาร” เพิ่มขึ้น 9.4% BRC รายงานว่า สาเหตุการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อยังคงเหมือนเดิมคือ ภาวะวิกฤติปริมาณน้ำมันที่ได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรรัสเซีย และการขาดทักษะแรงงานที่มีฝีมือ ทำให้ผู้ประกอบการถูกบีบบังคับให้ต้องขึ้นค่าจ้างอย่างต่อเนื่อง

    ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากดังกล่าว ธนาคารกลางอังกฤษน่าจะไม่สามารถยึดแนวทางเดิมได้ และจะต้องเลือกปรับเปลี่ยนไปมาระหว่างมาตรการคุมเข้ม (QT) และผ่อนคลาย (QE) ของนโยบายทางการเงิน เพื่อหาจุดสมดุล อย่างไรก็ดี ไม่มีสิ่งที่ช่วยรับประกันว่าจะทำได้สำเร็จ และแนวทางนี้จะยิ่งเพิ่มความผันผวนให้กับค่าเงินปอนด์

    ท่ามกลางสถิติที่อ่อนแอของตลาดแรงงานสหรัฐฯ  GBP/USD ปรับฐานขึ้นด้านบนในช่วงท้ายสัปดาห์และปิดตลาดไว้ที่ 1.1373 อย่างไรก็ดี นักยุทธศาสตร์จาก ING เครือธนาคารรายใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนดเชื่อว่า อีกไม่นาน ราคาจะทดสอบระดับ 1.1000 ในขณะเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนเป็นการคาดการณ์ในระยะยาว เราอาจหวังว่าจะได้เห็นพัฒนาการเชิงบวก เช่น นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร Westpac ของออสเตรเลียคาดการณ์ว่า เงินปอนด์จะซื้อขายที่ 1.2000 ภายในสิ้นปี 2023 และจะขยับถึง 1.2700 ภายในสิ้นปี 2024

    สำหรับการคาดการณ์ระยะกลางในหมู่นักวิเคราะห์ในอนาคตอันใกล้นี้ ฝั่งหมีได้เปรียบฝั่งกระทิงไม่มากเพียง 55% ต่อ 45% ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 25% เห็นด้วยกับสีเขียว 40% อยู่ฝั่งสีแดง และ 35% อยู่ในโซนสีเทากลาง ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์มี 65% เป็นสีแดง 35% เป็นสีเขียว ส่วนระดับและโซนแนวรับของเงินปอนด์อยู่ที่ 1.1350, 1.1230, 1.1150, 1.1100, 1.1060, 1.0985-1.1000, 1.0750, 1.0500 และระดับต่ำสุด ของวันที่ 26 กันยายนที่ 1.0350 เมื่อราคาขยับขึ้นไปด้านเหนือ ตลาดกระทิงจะต้องเจอกับแนวต้านที่ระดับ ได้แก่ 1.1435, 1.1475-1.1500, 1.1560, 1.1600-1.1625 1.1645, 1.1720, 1.1830, 1.1900, 1.1960, 1.2135 และ 1.2200

    สำหรับกิจกรรมสำคัญในสัปดาห์นี้ ความสนใจจะอยู่ที่สถิติ GDP ของสหราชอาณาจักร ซึ่งจะประกาศให้ทราบในวันศุกรที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งตัวเลขคาดการณ์ดูน่าผิดหวัง และชี้ว่ามีแนวโน้มลดลงใน Q3 ปี 2022 ที่ -0.1% (+0.2% ใน Q2).

USD/JPY: การแทรกแซงจากBoJ: ใช่หรือไม่

  • การแทรกแซงค่าเงินโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมช่วยคืนเสถียรภาพให้กับเงินเยน และ USD/JPY ปิดท้ายห้าวันทำการที่ 146.64 ที่ตรงกลางคือ 145.30-148.85 ในขณะเดียวกัน Shunichi Suzuki รัฐมนตรีการคลังญี่ปุ่นได้กล่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนว่า รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ตั้งใจใช้การแทรกแซงกำหนดค่าเงินไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และอัตราแลกเปลี่ยนควรขยับอย่างมั่นคง ซึ่งสะท้อนถึงดัชนีปัจจัยพื้นฐาน และนโยบายทางการเงินนั้นขึ้นอยู่กับธนาคารกลางญี่ปุ่น

    คำกล่าวดังกล่าวอาจส่งแรงกดดันต่อค่าเงินญี่ปุ่น เพราะแปลว่าอาจจะไม่มีการแทรกแซงครั้งใหม่ และธนาคารฯ จะไม่ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอ่อนค่ามากและจะคงดอกเบี้ยไว้ที่อัตราติดลบคือ -0.1%

    ทั้งนี้ USD/JPY ได้ขยับถึงระดับที่ 151.94 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม โดยทำระดับสูงสุดในรอบ 32 ปี แต่จากนั้นไม่กี่นาที อัตราแลกเปลี่ยนก็ทรุดตัวลงมากกว่า 500 จุดจาก 151.63 เหลือ 146.24 Financial Times รายงานว่า ในขณะนั้น ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ขายสินทรัพย์อย่างน้อย $3 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อพยายามพยุงเงินเยน หลังจากการแทรกแซงครั้งนี้ ราคาก็กลับตัวและพุ่งขึ้นอีกครั้ง จึงชัดเจนว่าเงินสามหมื่นล้านเหรียญนั้นไม่เพียงพอ และการแทรกแซงครั้งถัดไปก็เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม ส่งผลให้ค่าเงินปรับตัวลงมาที่ 145.48  ก่อนที่จะปิดตลาดที่ 147.40 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม และหนึ่งสัปดาห์ถัดมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ราคาก็ปิดตัวต่ำลงมา 100 จากโซนดังกล่าวอยู่ที่ 146.64

    นักวิเคราะห์ 65% ไม่ตัดโอกาสที่ USD/JPY จะพยายามทดสอบระดับ 150.00 อีกครั้ง และหากทำสำเร็จจะสามารถขยับขึ้นไปเหนือ 152.00 ได้ ส่วน 25% เชื่อว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะต้องตัดสินใจให้มีการแทรกแซงอีกหนึ่งครั้งหรือมากกว่า และจึงโหวตว่าราคาจะขยับลดลง มี 10% คาดการณ์ว่าราคาจะขยับต่อไปในทิศทางด้านข้าง ด้านออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 ให้ภาพที่ผสมกัน 20% ชี้ไปทางทิศเหนือ 40% ชี้ไปทางทิศใต้ และ 40% ให้สีเทากลาง ในส่วนอินดิเคเตอร์เทรนด์ อัตราส่วนฝั่งสีแดงและเขียวอยู่ที่ 50% to 50%

    ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ 146.40, ต่อจากนั้นคือ 145.30, 143.75, 140.60, 140.00, 138.35-139.05 และ 137.40 ส่วนระดับแนวรับได้แก่ 146.85, 147.50, 147.90-148.00, 148.45-148.85, 149.45, 150.00, 151.55 โดยเป้าหมายของฝั่งกระทิงคือต้องขยับขึ้นไปและตั้งหลักให้เหนือระดับ 152.00 จากนั้นจะเป็นระดับสูงสุดของปี 1990 ที่บริเวณ 158.00

    เราไม่คาดว่าจะได้เห็นสถิติที่สำคัญใด ๆ ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในสัปดาหนี้

คริปโตเคอเรนซี: BTC/ETH – ใครชนะ?

  • มาเริ่มต้นกันเรื่องวันเกิด เมื่อวันจันทร์ที่ 31ตุลาคม 2022 เป็นวันครบรอบ 14 ปี วันเกิดของบิทคอยน์ Satoshi Nakamoto ได้เผยแพร่เอกสารพิมพ์ขาวบิทคอยน์เมื่อวันนี้ในปี 2008 ซึ่งเอกสารพิมพ์ขาวอธิบายว่าระบบการชำระเงินแบบ peer-to-peer ทำงานอย่างไรและจะปฏิวัติเทคโนโลยีทางการเงินได้อย่างไร เครือข่ายบิทคอยน์เริ่มทำงานในเดือนมกราคม 2009 และ Satoshi Nakamoto ก็หายตัวไปในอีกสองปีถัดมา และก็ไม่มีใครรู้คำตอบว่าใครเป็นผู้เขียนเอกสารฉบับนี้ที่วางหมุดในอุตสาหกรรมอันใหญ่โตดังกล่าว และไม่เป็นที่ทราบเช่นกันว่าเป็นตัวบุคคลหรือเป็นกลุ่มบุคคล

    บิทคอยน์มีชีวิตที่ผันผวนเป็นอย่างมากในช่วงเวลา 14 ปีที่ผ่านมา ราคามันขึ้นและลง และก็กลับลุกขึ้นมา แล้วล้มลงอีกครั้ง บิทคอยน์ไต่ขึ้นตามคลื่นและลงเหวลึก ตั้งแต่มันกำเนิดขึ้นมา ราคาเคยเข้าใกล้ระดับ $70,000 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2021 และตอนนี้ราคาซื้อขายอยู่ที่โซน $20,000 โดยราคาดิ่งลงมา 70% ในหนึ่งปี

    แน่นอนว่าการรู้เรื่องราวในอดีตเป็นสิ่งสำคัญ แต่เรากังวลกับอนาคตที่กำลังรอเราอยู่มากกว่า ตรงนี้เองที่การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญก็ผันผวนเช่นเดียวกันกับราคาของบิทคอยน์ บ้างทำนายว่าตลาดคริปโตจะสิ้นชีพสักวันใดสักวันหนึ่ง บ้างก็คาดการณ์ว่าราคาจะขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดอย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ARK Invest เชื่อว่า มูลค่ารวมของตลาดคริปโตจะเติบโตขึ้นไปที่ $4.5 ล้านล้านดอลลาร์ (ขณะนี้อยู่ที่ $0.39 พันล้านดอลลาร์) และมันจะมีความผันผวนมากกว่าสกุลเงินเฟียตส่วนใหญ่ รวมถึงดอลลาร์สหรัฐด้วย

    Brian Armstrong ซีอีโอ Coinbase ทำนายว่า บิทคอยน์จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่น่าเชื่อถือในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ซึ่งสามารถให้ความปลอดภัยกับนักลงทุนในช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ เศรษฐีพันล้านรายนี้เชื่อว่า มูลค่ารวมของตลาด BTC ยังไม่มากพอที่บิทคอยน์จะเป็นสินทรัพย์ประกันความเสี่ยงที่จริงจังได้ แต่เขามองว่า ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนไปได้ในช่วงปี 2030 เมื่อตลาดคริปโตจะเติบโตและ “มีสัดส่วนที่ใหญ่ในเศรษฐกิจโลก” ในตอนนั้น บิทคอยน์จะถูกมองว่าเป็นทองคำดิจิทัล ซึ่งสามารถให้ความคุ้มครองในช่วงวิกฤติได้

    Raoul Pal อดีตซีอีโอ Goldman Sachs และนักลงทุนแมโคร คาดการณ์ว่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น $300 ล้านล้านเหรียญในอีก 10-15 ปีข้างหน้า เขามองว่า มูลค่ารวมของตลาดการเงินเกือบทุกแห่งมีค่าประมาณ $200 ถึง $300 ล้านล้านดอลลาร์ เขาเชื่อว่าคริปโตเคอเรนซีก็จะขยับถึงระดับนี้เช่นกันในอนาคตในฐานะส่วนหนึ่งของ “การเติบโตที่รวดเร็วและยิ่งใหญ่มากที่สุด” ในประวัติศาสตร์

    การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญนั้นอ้างอิงจากปริมาณกิจกรรมในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลและ Web3 Pal ยังเน้นย้ำ การไหลเข้ามาของเงินหกหมื่นล้านเหรียญสหรัฐในการระดมทุนในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา เขาจึงมั่นใจว่ามูลค่ารวมในตลาดคริปโตจะพุ่งขึ้นโดยทันทีหลังจากความโกลาหลของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกสิ้นสุดลง

    หลังจากธนาคารเฟดตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ราคากลุ่มสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงก็ดิ่งลง แต่สถิติที่ย่ำแย่จากตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ก็เข้ามาช่วยไว้ได้ ส่งผลให้ ณ ขณะที่เขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน BTC/USD รวมถึงดัชนี S&P500, Dow Jones และ Nasdaq กลับขึ้นไปยังทิศเหนือและซื้อขายอยู่ที่ $21,180 โดยกำลังพยายามที่จะยืนเหนือระดับ $21,000 ให้สำเร็จ แต่ก็ไม่มีความแน่นอนว่ามันจะทำได้สำเร็จหรือไม่ และหากราคาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเริ่มปรับลดลงอีกครั้ง บิทคอยน์ก็อาจจะตามลงไปด้วย

    Jim Wyckoff นักวิเคราะห์จาก Kitco News สังเกตว่า ฝั่งกระทิงกำลังครอบงำหมีในทางเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญรายนี้ไม่ตัดโอกาสที่อาจเกิดภาวะราคาแข็งตัวในตลาดในอนาคตอันใกล้ ก่อนที่ราคาจะขยับเข้าสู่ระยะการเติบโตอย่างมั่นคง Wyckoff ยังบอกว่ามีโอกาสเช่นกันที่บิทคอยน์อาจเผชิญกับความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่จะมาถึงนี้

    นักวิเคราะห์ที่ชื่อว่า Plan B เชื่อว่า บิทคอยน์กำลังเข้าใกล้กับวัฎจักรรอบใหม่ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะเกิดแนวโน้มขาขึ้นเพราะเหตุผลสองประการ ประการแรกคือเนื่องด้วยการขยับขึ้นของมูลค่าบิทคอยน์ นักลงทุนที่เป็นเจ้าของเหรียญมากกว่า 60% ของเหรียญที่ครอบครองได้นั้นได้กำไร ส่วน PlanB ชี้ว่า ปัจจัยนี้แสดงถึงการกระโดดขึ้นของราคา BTC ประการที่สอง ดัชนี RSI บ่งชี้ถึงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของบิทคอยน์ ค่าอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคนี้ลดลงทำระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์ กล่าวคือ ตลาดตกลงมาอยู่ในโซนที่มีแรงขายมากเกินไป (oversold) ดังนั้น การกลับทิศทางจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้

    “นักวิจัยที่ Glassnode เห็นด้วยกับ Plan B รายงานฉบับล่าสุดของพวกเขาระบุว่า ตลาดบิทคอยน์กำลังอยู่ในระยะสะสมกำลังในขณะนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ช่วงตลาดกระทิงทะยานขึ้น ซึ่งเทรนด์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้คล้ายกับสถานการณ์ในช่วงต้นปี 2019 ก่อนที่ราคาบิทคอยน์จะเพิ่มมูลค่าขึ้นกว่าสามเท่า

    แต่ในกรณีที่ตลาดคริปโตจะขยับขึ้นได้นั้น นักลงทุนรายสถาบันจะต้องเปลี่ยนจากการเทขายหรือช่วงจำศีลเป็นระยะสะสมกำลัง สภาพอารมณ์ของคนทั่วไป (กลุ่มที่เรียกว่าเป็นกุ้ง หรือ shrimps) แน่นอนว่ามีความสำคัญ แต่อารมณ์ของเหล่าปลาวาฬก็สำคัญมากยิ่งกว่า

    BNY Mellon ธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกาชี้ว่า มีนักลงทุนรายสถาบัน 70% ที่จะเพิ่มเงินลงทุนในคริปโตแม้ในสถานการณ์บางประเภท เช่น “มีการรักษาทรัพย์และการดำเนินการโดยสถาบันที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือ”

    รายงานของ BNY Mellon ให้ข้อสังเกตว่า “นักลงทุนรายสถาบันเกือบทุกคน (91%) สนใจที่จะลงทุนในผลิตภัณฑ์แบบโทเคน” แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็มองหาวิธีที่จะเข้าสู่ตลาดคริปโตเคอเรนซีอย่างปลอดภัย และไม่ลงทุนอย่างไม่ระมัดระวังเพื่อหวังกำไรสูงเท่านั้น

    สำหรับคนธรรมดา เราสามารถอ้างผลสำรวจที่จัดทำโดย Grayscle Investment ซึ่งมีคนที่ตอบแบบสำรวจเพียง 52% ที่เห็นว่าด้วยคริปโตเคอเรนซีเป็นอนาคตทางการเงิน และมีเพียง 44% ที่ตอบว่า พวกเขากำลังพิจารณาที่จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ในขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ (81%) เห็นด้วยว่า คริปโตเคอเรนซีจำเป็นต้องมีกฎการกำกับดูแลที่ชัดเจน

    คำถามที่ว่าการกำกับดูแลตลาดคริปโตเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีนั้นยังเป็นคำถามปลายเปิด เช่น ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมองว่าการที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ให้ความสนใจกับ Ethereum มากขึ้นนั้นเป็นปัจจัยในทางลบ

    ตอนนี้เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนครึ่งแล้วนับตั้งแต่อัลท์คอยน์ชั้นนำเปลี่ยนผ่านจากอัลกอริทึม PoW มาเป็นกลไก PoS ซึ่งหลังจากนั้น ความรับผิดชอบในการสร้างบล็อกก็เปลี่ยนจากผู้ขุดเหรียญมาเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรม นักพัฒนามองว่าข้อดีหลักของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการลดการบริโภคพลังงานในเครือข่ายจากระดับสูงสุดที่ 112 TWh/ปี เหลือเพียง 0.01 TWh/ปี ซึ่งสำหรับ ETH แล้ว สิ่งนี้ช่วยหักล้างข้ออ้างของนักสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมของการขุดเหรียญ แต่เหรียญนี้ก็เริ่มออกห่างจากสิ่งที่ Satoshi Nakamoto ได้นำเสนอตั้งแต่แรกเป็นหลักการของคริปโตเคอเรนซี โดยเครือข่ายมีศูนย์กลางมากขึ้นและความต้องการของกลต. ที่จะถอด Ethereum ออกจากสถานะคริปโตเคอเรนซีก็เพิ่มขึ้น โดยจะใช้สถานะหลักทรัพย์เข้ามาแทนที่ ทำให้มันต้องขึ้นกับกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น Gary Gensler ประธานกลต. สหรัฐฯ ได้ให้สัญญาณดังกล่าวในวันที่มีการเปลี่ยนกลไกไปใช้ PoS

    ในขณะเดียวกัน คงจะไร้เดียงสาถ้าจะคิดว่ามีแต่ Ethereum เท่านั้นที่อยู่ในสายตาของหน่วยงานทางการเงิน แน่นอนว่าบิทคอยน์ก็จะถูกคว่ำบาตรด้วยเช่นกัน ดังนั้น ทั้งสองสกุลเงินนี้กำลังอยู่ในสายตาเท่ากันในเรื่องนี้ แต่ในแง่ของการพัฒนาเครือข่ายและแนวโน้มในอนาคต Ethereum แซงหน้าบิทคอยน์ได้อย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากกราฟ BTC/ETH นับตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ราคาได้ปรับลงมาจาก 20.3 เหลือ 13.0 และกลับมาสู่ราคาตอนช่วงเริ่มต้นปี

    ณ ขณะที่เขียนบทรีวิวฉบับนี้ในช่วงเย็นวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน BTC/USD เทรดอยู่ที่บริเวณ $21,180 ETH/USD - $1,650 มูลค่ารวมในตลาดคริปโตคือ $1.055 ล้านล้านดอลลาร์ ($1.005 เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า) ด้านดัชนี Crypto Fear & Greed ไม่มีการเปลี่ยนแปลงช่วงเจ็ดวันที่ผ่านมาแต่ยังอยู่ในโซนกลัว (Fear) ที่ 30 จุด นักพัฒนาดัชนีแนะให้พิจารณาเปิดคำสั่งซื้อได้ในช่วงนี้ แต่ในความเห็นของเรา สถานการณ์ยังคงสั่นคลอดและนักเทรดจำเป็นต้องระมัดระวังให้มากที่สุด

 

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX

 

หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้

กลับ กลับ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายคุกกี้ ของเรา